สรุปยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
ท่านนักศึหษาปริญญาเอก ดูงานและเรียนต่างประเทศ
สรุปยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
วิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว“ สาธารณูปโภคพื้นฐานครบครัน บรรเทาปัญหาความยากจน คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สิ่งแวดล้อมปราศจากมลพิษ แนวคิดเกษตรอินทรีย์ มีระบบบริหารจัดการโปร่งใส ”
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว
การที่องค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าวจะสามารถพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ได้นั้น จะต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการ ซึ่งคณะกรรมการบริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าวได้นำวิสัยทัศน์มาเป็นกรอบในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนา โดยแบ่งยุทธศาสตร์การพัฒนาออกเป็น 7 ด้าน และในแต่ละด้านได้กำหนดแนวทางการพัฒนาตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์จังหวัด และยุทธศาสตร์อำเภอเพื่อให้การพัฒนาท้องถิ่นนำไปสู่ความสำเร็จ โดยยุทธศาสตร์การพัฒนาในแต่ละด้านมีเป้าหมาย แนวทางการพัฒนาและตัวชี้วัดความสำเร็จ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
เป้าหมาย
เพื่อก่อสร้าง ซ่อมบำรุงงานโครงสร้างพื้นฐานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว เช่น เส้นทางคมนาคม ไฟฟ้า โทรศัพท์ สาธารณูปโภคและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ทำการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมให้ได้มาตรฐาน มีความสะดวกปลอดภัยในการสัญจรไป-มา ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือนและมีไฟฟ้าแสงสว่างตามจุดต่าง ๆ มีโทรศัพท์สาธารณะไว้บริการอย่างเพียงพอ มีการให้บริการเสียงตามสาย สาธารณูปโภคพื้นฐานรวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
แนวทางการพัฒนา
1. ปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางคมนาคมให้สะดวก รวดเร็ว
2. การจัดให้มีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน และไฟฟ้าสาธารณะ
3. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของครัวเรือนที่มีการคมนาคมสะดวก รวดเร็ว
2. ร้อยละของครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้
3. จำนวนไฟฟ้าสาธารณะ
4. จำนวนสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
2. ยุทธศาสตร์น้ำแก้จน
เป้าหมาย
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้ในการบริโภค อุปโภคและทำการเกษตรอย่างเพียงพอ ไม่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ทางระบายน้ำสะดวกไม่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง
แนวทางการพัฒนา
1. ก่อสร้าง ซ่อมบำรุงและจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและเพื่อการเกษตร
ตัวชี้วัด
1. จำนวนแหล่งน้ำที่ก่อสร้าง ซ่อมบำรุง และจัดหาในปีงบประมาณ
3. ยุทธศาสตร์เสริมสร้างความสามารถทางเศรษฐกิจและบรรเทาปัญหาความยากจน
เป้าหมาย
เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต มีการสร้างงานอาชีพในชุมชน พัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานของประชาชน สนับสนุนด้านเทคโนโลยี วัสดุอุปกรณ์การผลิต การบริหารจัดการการผลิต การตลาด เพื่อเพิ่มผลผลิตและพัฒนาผลผลิตให้ได้มาตรฐาน ให้ชุมชนสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยความเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้ โดยยึดหลักของเศรษฐกิจพอเพียง
แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาฝีมือแรงงานและส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่ประชาชน
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของประชาชนที่ได้รับการพัฒนาฝีมือแรงงาน
2. ร้อยละของประชาชนที่ได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพ
4. ยุทธศาสตร์สร้างสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
เป้าหมาย
เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุขในการดำรงชีวิต มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีความร่วมมือร่วมใจที่จะพัฒนาชุมชน เอื้ออารีต่อกัน ร่วมกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืน ประชาชนมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง สุขภาพจิตดี มีความรู้ด้านการรักษาสุขภาพอนามัย การป้องกันโรคติดต่อ มีการออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงมีภูมิต้านทานต่อโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ และส่งเสริมให้ประชาชนเล่นกีฬา ห่างไกลยาเสพติดตลอดจนการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิต เพราะหากประชาชนมีร่างกายแข็งแรง มีสติปัญญา ก็จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า ยกระดับการศึกษาของประชาชน ให้ประชาชนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสถานที่แสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง มีแหล่งข้อมูลข่าวสาร ให้ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา ก้าวทันยุคความเจริญด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตลอดเวลา
แนวทางการพัฒนา
1. การสังคมสงเคราะห์ และพัฒนาคุณภาพชีวิต
2. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
3. การสาธารณสุข การสร้างสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ การฟื้นฟูสุขภาพของประชาชน
4. การส่งเสริมด้านการศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. การส่งเสริมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี กีฬาและนันทนาการ
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของผู้สูงอายุ ผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสที่ได้รับความช่วยเหลือ
2. จำนวนโครงการด้านสังคมที่ดำเนินการในปีงบประมาณ
3. จำนวนโครงการด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/ลดอุบัติเหตุจราจรทางบก/ทางน้ำที่ดำเนินการในปีงบประมาณ
4. จำนวนโครงการด้านการป้องกันและแก้ไขการแพร่ระบาดปัญหายาเสพติดที่ดำเนินการในปีงบประมาณ
5. จำนวนโครงการเกี่ยวกับการสาธารณสุข การสร้างสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ การฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่นที่ดำเนินการในปีงบประมาณ
6. จำนวนโครงการด้านการศึกษา และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ท้องถิ่นดำเนินการในปีงบประมาณ
7. จำนวนโครงการจัดกิจกรรมทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี กีฬาและนันทนาการที่ดำเนินการในปีงบประมาณ
5. ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุลอย่างยั่งยืน
เป้าหมาย
เพื่อให้พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าวมีสภาพแวดล้อมที่ดี ปราศจากมลพิษ ประชาชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในชุมชนได้อย่างมีความสุข พื้นที่ในชุมชนมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
แนวทางการพัฒนา
1. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
1. จำนวนโครงการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดำเนินการในปีงบประมาณ
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์
เป้าหมาย
เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรในตำบลทำการเกษตรอินทรีย์แทนการใช้สารเคมีและปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด จำหน่ายได้ราคาดี ช่วยเพิ่มรายได้ของเกษตรกร
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมและสนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของพื้นที่ทำการเกษตรอินทรีย์
2. จำนวนประชาชนที่เข้าร่วมโครงการเกษตรอินทรีย์
7. ยุทธศาสตร์การบริหารราชการตามหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี
เป้าหมาย
เพื่อส่งเสริมศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลหลุมข้าว ให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สนับสนุนการทำงานของบุคลากร ให้มีความรู้ความสามารถ มีทักษะการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ และประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร
แนวทางการพัฒนา
1. ส่งเสริมประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
2. ส่งเสริมศักยภาพของท้องถิ่นในทุก ๆ ด้าน ตามหลักการบริหารจัดการที่ดี
ตัวชี้วัด
1. ระดับความสำเร็จของการประเมินผลลัพธ์ของแผนงาน/โครงการ ตามยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบล
2. ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ
3. จำนวนโครงการที่จัดกิจกรรมเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตำบลที่ดำเนินการในปีงบประมาณ
4. ร้อยละของการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
5. ระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงานขององค์การบริหารส่วนตำบล
6. ระดับความสำเร็จของการลดระยะเวลาและขั้นตอนการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนตำบล
7. ร้อยละของการสนับสนุนการเพิ่มพูนความรู้ของบุคลากรเพื่อการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบล
8. จำนวนโครงการที่ส่งเสริมศักยภาพของท้องถิ่น ตามหลักการบริหารจัดการที่ดีที่ดำเนินการในปีงบประมาณ
ท่าน วิสุทธฺ์ สมบูรณ์พันธ์ ขอสนับสนุนการทำงานของท่าน นายก ดร.ถาวร หวังหามกลาง