วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โมเดลใหม่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 

 

 

การทำการตลาดยุคอินเตอร์เน็ท | Global Rich Club

www.richclubthai.com/tag/การทำการตลาดยุคอินเตอร/ - แคช
26 ต.ค. 2011 – ข้อมูล Global Rich Club ธุรกิจไลฟ์สไตล์ สร้างรายได้หลักแสน ... 3 ถึง 5 ดาวทั่วเอเชีย หรือ เรื่องรายมากมายได้ที่คุณจะได้รับ แต่กลับไม่มีคนพูดถึงเรื่อง ... องกรณ์ บริษัท หรือหน่วยงาน ใหญ่ๆต่าง หันมามองการตลาดทางอินเตอร์เน็ทกันหมดแล้ว ...

  • PGI 2 โมเดลใหม่พัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    www.hrtothai.com/index.php?option=com_content... - แคชใกล้เคียง
     - บล็อกผลการค้นหาจาก www.hrtothai.com ทั้งหมด
    เหตุที่แรงงานได้รับความสนใจมากขึ้นทำให้ความสนใจที่จะเข้าใจในตัวคนงานและความ ต้องการต่างๆ ... ความซับซ้อนของธุรกิจยุคใหม่ทำให้การสร้างบุคลากรเป็นเรื่องที่ท้าทาย บรรดานัก ... (Global Perspective) มีนวัตกรรม (Innovation) และ มีความคิดบูรณาการ ( Integrative) ...




  • [DOC] 

    ยุทธศาสตร์การบริหารในยุคโลกาภิวัตน์

    suthep.cru.in.th/mgnt40.docใกล้เคียง
    รูปแบบไฟล์: Microsoft Word - มุมมองด่วน
    การบริหารคือการหาทางทำงานให้สำเร็จ การทำงานให้สำเร็จได้นั้น ... และโทรคมนาคม และ ด้านระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้ยุคโลกาภิวัตน์จึงเป็นยุคที่ผู้คนทั้งโลกที่สามารถสื่อสาร ขนส่ง เดินทางไปมาหากันได้ ... โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ที่โลกเสมือนเล็กลง (Global Village) ...

  • บทความ วิชาการ ภาวะผู้นำของพนักงานเทศบาลนครนครปฐม

    ภาวะผู้นำของพนักงานเทศบาลนครนครปฐม
      ดร.วาสนา   คงสกุลทรัพย์                                                                                   084 – 641 - 5599
                            เทศบาลนครนครปฐม เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด มีภาระหน้าที่ในการรับผิดชอบ การให้บริการแก่ประชาชน ทำให้การปฏิบัติภารกิจในหน้าที่เป็นเรื่องผู้บริหารและพนักงานเทศบาล ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการบริหารประชาชนที่ดีจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพขององค์กร คณะผู้บริหารเทศบาลนครนครปฐม ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตเทศบาล โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นผู้นำ และด้านหนึ่งคือข้าราชการประจำ โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชา การบริหารงานของพนักงานเทศบาล จากการนำของปลัดเทศบาล จะยึดนโยบายจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และนโยบายคณะผู้บริหารฝ่ายการเมืองเป็นหลัก การปฏิบัติงานจะยึดถือปฏิบัติอย่างถูกต้อง โดยอยู่ภายใต้ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ผู้บริหารตลอดถึงเจ้าหน้าที่จะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ทำงานต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ การบริการราชการบรรลุเป้าหมาย โดยคำนึงถึงประโยชน์สุขของประชาชนให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า การทำงานต้องไม่ มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น การปฏิบัติงานต้องให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในสภาพการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะการดูแลทุกข์สุขของประชาชนต้องมียุทธวิธีหลากหลายรูปแบบบริหารจัดการ เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลได้กินดี อยู่ดีเป็นสำคัญ เทศบาลนครนครปฐม ได้ดำเนินการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นที่ว่า “บ้านเมืองน่าอยู่เชิดชูคุณธรรม และประโยชน์สุขของประชาชน” โดยได้แบ่งส่วนราชการในสำนักงานเทศบาลรับผิดชอบ ประกอบด้วยสำนักงานปลัดเทศบาล สำนักการคลัง สำนักการช่าง สำนักการสาธารณสุข สำนักการศึกษา กองวิชาการและแผนงาน กรมการประปา กองสวัสดิการสังคม และกองส่งเสริมวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และกีฬา
                            นอกจากหน้าที่ที่ได้แบ่งให้แต่ละส่วนราชการรับผิดชอบแล้ว เทศบาลนครนครปฐม ยิ่งมีแผนพัฒนาเทศบาล ซึ่งมาจากความต้องการของประชาชน ความต้องการของคณะผู้บริหารเทศบาล และจากนโยบายการพัฒนาของกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทุกส่วนราชการในสำนักงานเทศบาลนครนครปฐม และต้องปฏิบัติให้บรรลุตามแผนที่วางไว้ให้ได้มากที่สุด การปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณจะต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวัง การปฏิบัติงานทุกครั้งจะต้องมีการวางแผน มีหลักการ การตัดสินใจต้องมีคุณภาพ การทำงานต้องเป็นทีม จึงเห็นได้ว่าความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำจะต้องใช้ประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ การเป็นมืออาชีพของผู้นำ และพัฒนาในทางบริหารงาน เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน ผู้บริหารในฐานะเป็นผู้นำของเทศบาลจะต้องมีหน้าที่ ที่จะต้องสร้างความร่วมมือ ร่วมใจกันเป็นอย่างดีในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
                            เนื่องจากภารกิจหลักของเทศบาลนครนครปฐม เป็นภารกิจที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชน เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่น ดังนั้นบทบาทของพนักงานเทศบาล จำเป็นต้องมีภาวะผู้นำในการขับเคลื่อนภารกิจที่รับผิดชอบ          จึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้เกิดภาวะผู้นำเพื่อนำมาปฏิบัติงานให้ประสบความสำเร็จ ภารกิจของพนักงานในแต่ละส่วนราชการ ซึ่งมีทั้งหมด ส่วนราชการ ประกอบด้วย สำนักปลัดเทศบาล สถานธนานุบาล หน่วยตรวจสอบภายใน สำนักการคลัง สำนักการช่าง สำนักการสาธารณสุข สำนักการศึกษากองวิชาการและแผนงาน กองการประปา กองสวัสดิการสังคม และกองส่งเสริมวัฒนธรรมการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับรูปแบบการพัฒนาภาวะของพนักงานเทศบาลนครนครปฐม ที่จะใช้กับการปฏิบัติงานว่าส่วนราชการใดมีความเหมาะสมกับ การปฏิบัติงานในภารกิจของส่วนราชการนั้น แบบภาวะผู้นำที่ใช้ในการปฏิบัติงานเทศบาลนครนครปฐม ได้นำรูปแบบภาวะผู้นำ ดังนี้
                            ภาวะผู้นำแบบผู้ให้การบริการ (Stewardship and Servant Leadership) ภาวะผู้นำแบบนี้เป็นการจัดการให้บุคคลอื่นมาก่อนตัวเรา และเมื่อรวมกันแล้วก็จะเป็นตัวอย่างของภาวะผู้นำที่ประสบความสำเร็จ หลักการสำคัญมีความเป็นผู้นำมีการสั่งการน้อยลง และมีการบริหารบุคคลอื่นมากขึ้น
                            แนวคิด ภาวะผู้นำบนพื้นฐาน Servant Leadership
                            ผู้แบบ Servant Leadership ใช้ภาวะผู้นำจากจุดยืนทางศีลธรรมที่เข็มแข็ง Servant Leadership ปฏิบัติงานจากทัศนะที่ว่า เรามีหน้าที่ทางศีลธรรมต่อลูกน้อง ภาวะผู้นำมองว่าเป็นโอกาสที่จะรับใช้ที่ระดับพื้นดินไม่ใช่เป็นผู้นำที่อยู่บนยอดหอคอย สิ่งที่เป็นแนวคิดพื้นฐานของ Servant Leadership ประกอบด้วย 4 ประการคือ
                            1.    ช่วยเหลือผู้อื่นให้ค้นพบจิตใจของตัวเอง บทบาทของ Servant Leadership เห็นอกเห็นใจในสิ่งแวดล้อมที่เกิดกับผู้อื่น Servant Leadership ไม่กลัวที่จะแสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของตนเอง       
                            2.    การได้รับและการรักษาความไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้อื่น ผู้นำแบบ Servant Leadership ได้รับความไว้ใจจากผู้ตามโดยสัจจะ และความจริงใจคำต่อคำ เขาไม่มีวาระซ้อนเร้น และพร้อมที่จะสละอำนาจ รางวัล เกียรติยศ หรือการครอบครอง
                            3.    การให้บริการโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเอง Servant Leadership คือ ความประสงค์ที่จะช่วยบุคคลอื่น มากกว่าต้องการได้อำนาจและการควบคุมบุคคลอื่น ทำในสิ่งที่ถูกสำหรับบุคคลอื่น ปกป้องตำแหน่งของตน Servant Leadership ตัดสินใจเพื่อประโยชน์ของกลุ่ม     ยิ่งกว่าส่งเสริมประโยชน์ของตน
                            4.    ฟังอย่างมีประสิทธิผล Servant Leadership จะไม่บอกให้กลุ่มทำอะไรตามแต่จะฟังปัญหาของกลุ่มอย่างตั้งใจ เผชิญหน้าและมีส่วนร่วมกับกลุ่มเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะปฏิบัติ Servant Leadership จะสร้างความมั่นใจในผู้อื่น การจะฟังอย่างรอบคอบถึงปัญหาที่คนอื่นประสบแล้วรวมกับกลุ่มหาหนทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา ผู้นำแบบนี้มีความเชื่อมั่นในตัวผู้อื่น
                            ภาวะผู้นำแบบให้บริการจะเป็นการบริการโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเอง การได้รับและการรักษาความ ไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้อื่น การฟังอย่างมีประสิทธิผลและการช่วยเหลือผู้อื่นให้
                            ภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม (Participative Leadership) ภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วมว่าเป็นการใช้วิธีการต่าง ๆ ในการตัดสินใจที่ยินยอมให้บุคคลอื่นมีอิทธิพลบางประการในการตัดสินใจของผู้นำ กล่าวคือ เป็นการใช้ประโยชน์ของการเข้าร่วมอันหมายรวมไปถึงการให้คำปรึกษา การตัดสินใจร่วมกัน การแบ่งปันอำนาจและการบริหารระบบประชาธิปไตย การเข้าร่วมภาวะผู้นำเป็นลักษณะของการแสดงออกทางพฤติกรรม ซึ่งแตกต่างไปจากพฤติกรรมในลักษณะของการทำงาน และพฤติกรรมในการสร้างความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วมได้แบ่งได้ 4 รูปแบบ ดังนี้
                            1.    การตัดสินใจโดยเผด็จการ วิธีนี้ผู้บริหารตัดสินใจด้วยตนเองโดยไม่ต้องขอความเห็นจากใคร ไม่มีอิทธิพลจากบุคคลอื่นมาบังคับในการตัดสินใจ ดังนั้น จึงไม่มีการเข้าร่วมแต่ประการใด
                            2.    การให้คำปรึกษา วิธีนี้ผู้บริหารขอร้องให้บุคคลอื่นออกความคิดเห็น และข้อคิดเห็นต่าง ๆ แล้วทำการตัดสินใจด้วยตัวเองภายหลังจาก การพิจารณาอย่างรอบคอบตามคำปรึกษาดังกล่าว
                            3.    การตัดสินใจร่วม ผู้บริหารประชุมร่วมกับบุคคลอื่นเพื่ออภิปรายปัญหาและตัดสินใจร่วมกัน โดยไม่มีอิทธิพลเหนือผู้เข้าร่วมประชุมอื่นในการตัดสินใจแต่อย่างใด
                            4.    การมอบหมายงาน วิธีนี้ผู้บริหารมอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มบุคคลมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการตัดสินใจ โดยปกติแล้ววิธีนี้ผู้บริหารจะกำหนดขอบเขตในการให้อำนาจเอาไว้ ซึ่งอาจให้การรับรองหรือไม่ให้การรับรองก็ได้ก่อนที่จะทำการตัดสินใจ
                            กระบวนการตัดสินใจว่าการตัดสินใจเป็นการเลือก การปฏิบัติจากหลายทางเลือกซึ่งเป็นหลักการวางแผน ผู้บริหารต้องเลือกโดยถือเกณฑ์ที่มีข้อจำกัด หรือขอบเขตโดยให้หลักเหตุผล กระบวนการตัดสินใจ โดยใช้หลักเหตุผล กระบวนการตัดสินใจโดยใช้หลักเหตุผล เป็นโมเดล   การตัดสินใจแบบคลาสสิค ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ การกำหนดปัญหาการค้นหาทางเลือก        การประเมินทางเลือก ทำการตัดสินใจเลือกทางเลือก การปฏิบัติการตามการตัดสินใจการประเมินผลลัพธ์ และจัดหาการป้อนกลับ
                            ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป (Transformational Leadership) ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปเป็นกระบวนการของการนำ เพื่อการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการคงที่ โดยทำภารกิจ ดังนี้
                            (1) เป็นผู้นำที่กระตุ้นบุคคลให้ทำงานโดยทำให้มีภารกิจที่มากขึ้น มีจุดมุ่งหมาย                   ที่สูงขึ้น มีความเชื่อมั่นในความสามารถที่จะบรรลุภารกิจพิเศษที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน (2) ผู้นำซึ่งจุดประกายให้ผู้ตามคล้อยตามให้บรรลุถึงความสนใจเพื่อประโยชน์ต่อองค์การ (3) เป็นบุคคลซึ่ง          มีความสามารถ ที่มีอิทธิพลเหนือผู้ตาม ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่า ภาวะผู้นำ                เชิงปฏิรูปเป็นลักษณะของผู้นำที่มีความสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ด้วยการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ในวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และวัฒนธรรมขององค์การ ตลอดทั้งการส่งเสริมนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี ผู้นำเชิงปฏิรูปจะไม่ใช้สิ่งจูงใจที่มีตัวตน เพื่อควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่เฉพาะกับผู้ตาม แต่จะมุ่งด้านคุณด้วย เช่น วิสัยทัศน์ ค่านิยมร่วม และความคิด            เพื่อสร้างความสัมพันธ์ มีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมที่มีความสำคัญและค้นหากระบวนการเปลี่ยนแปลงให้ผู้ตาม ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปจะขึ้นอยู่กับค่านิยมส่วนบุคคล ความเชื่อและคุณภาพของผู้นำ จุดมุ่งหมายของภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป คือมุ่งความสำเร็จมากกว่าลักษณะเฉพาะของผู้นำ และ       มุ่งความสัมพันธ์กับสมาชิกของกลุ่ม
                            ลักษณะผู้นำเชิงปฏิรูปประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ
                            1.    วิธีการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิรูปที่เกิดขึ้น ผู้นำมักจะต้องเผชิญหน้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงองค์การจากการปฏิบัติงานที่ไม่ดีไปสู่ผลการปฏิบัติงานที่สามารถยอมรับได้ หรือ จากผลการปฏิบัติงานที่สามารถยอมรับได้ไปสู่ผลการปฏิบัติงานที่สูงมากยิ่งขึ้น ผู้มีอำนาจได้รับ การคาดหวังที่จะเปลี่ยนแปลงบริษัทจากสิ่งที่วิกฤตไปสู่มาตรฐานที่ดีขึ้น เพื่อสร้างความสำเร็จให้กับเป้าหมายขององค์การ ซึ่งผู้นำเชิงปฏิรูปจะต้องพยายามปรับปรุงวัฒนธรรมองค์การ หรือวัฒนธรรมกลุ่มย่อยโดยพยายามสร้างกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงองค์การ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                                    1.1    เพิ่มการรับรู้ของพนักงาน
                                    1.2    การช่วยเหลือของพนักงานให้เกิดความสนใจสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากผลประโยชน์ของตัวเอง
                                    1.3    การช่วยเหลือพนักงานให้แสวงหาการปฏิบัติเพื่อบรรลุผลสำเร็จด้วยตนเอง
                                    1.4    การช่วยเหลือพนักงานให้เข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง
                                    1.5    การเป็นผู้บริหารที่มีการตอบสนองโดยฉับพลัน
                                    1.6    ความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่
                                    1.7    การยอมรับทัศนะที่กว้างไกลในระยะยาว
                            2.    คุณภาพสำคัญ 4 ประการของผู้นำเชิงปฏิรูป ผู้นำเชิงปฏิรูปจะมีลักษณะส่วนตัวที่เป็นภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล ด้านคุณภาพ 4 ประการที่มีประโยชน์กระทำให้เกิดการปฏิรูป ดังนี้
                                    2.1    ผู้นำเชิงปฏิรูปจะเป็นผู้มีความสามารถพิเศษ ผู้นำเชิงปฏิรูปจะมีวิสัยทัศน์และความรู้สึกของภาระหน้าที่ มีความเอาใจใส่ในงาน มีความมั่นใจ ด้วยผลจากประสบการณ์ที่เกี่ยวกับชื่อเสียงของผู้นำ ซึ่งจะทำให้สมาชิกของกลุ่มมีความซื่อสัตย์ มีความภาคภูมิใจ มีความศรัทธาอย่างแรงกล้า มีความภักดีและไว้วางใจในสิ่งที่ผู้นำต้องการที่จะทำให้สำเร็จ
                                    2.2    ผู้นำเชิงปฏิรูป จะมีลักษณะภาวะผู้นำที่มีความสามารถที่จะจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้กระทำตามที่ตนต้องการ ผู้นำเชิงปฏิรูป จะมีความสามารถชักจูงผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ทำตามโดยมีการสื่อสารวิสัยทัศน์อย่างชัดเจนและมั่นใจ มีอารมณ์ดีตลอดจนสร้างความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้องแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
                                    2.3    ผู้นำเชิงปฏิรูป จะมีแรงกระตุ้นด้านสติปัญญา ผู้นำเชิงปฏิรูปจะมีการกระตุ้นสมาชิกของกลุ่มให้ทดสอบด้วยวิธีการเก่าหรือวิธีการใหม่ ๆ มีการสร้างบรรยากาศ ซึ่งกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และความคิดที่เกิดขึ้นเองจากการหยั่งรู้ หรือการหยั่งรู้ในลักษณะเดียวกัน             ก็จะเน้นวิธีการแก้ปัญหา การคิดใหม่ การทดสอบสมมติฐานใหม่ และการใช้เหตุผลด้วยความรอบคอบ เหล่านี้ทำให้สมาชิกของกลุ่มจะเกิดการยอมรับและมีการพัฒนาด้านสติปัญญา
                                    2.4    ผู้นำเชิงปฏิรูป จะให้ความสำคัญเป็นรายบุคคลมีการพัฒนาความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา ศึกษาความต้องการของแต่ละบุคคล ให้ความสำคัญและความเชื่อถือในแต่ละบุคคล ผู้นำจะให้ความสนใจพิเศษแก่สมาชิกของกลุ่มเป็นรายบุคคล ผู้นำเชิงปฏิรูปจะใช้เวลาในการสื่อสารแบบตัวต่อตัวกับสมาชิกของกลุ่ม และรับฟังความคิดเห็นอย่างสนใจ ขณะเดียวกันก็จะทำให้สมาชิกของกลุ่มเกิดความรู้สึกเคารพผู้นำเชิงปฏิรูป จะเน้นการพัฒนาสมาชิกของกลุ่มเป็นรายบุคคลด้วยการพูดคุยเกี่ยวกับเป้าหมายอาชีพและโอกาสในการพัฒนาของแต่ละบุคคล
                            ภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ (Charismatic Leadership) ภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ เป็นผู้ที่ใช้อำนาจได้อย่างมีคุณภาพ ความสามารถพิเศษ เป็นปัจจัยของผู้นำในการจูงใจผู้อื่น หรือก่อให้เกิดความเชื่อถือ ความเคารพ ความนิยม ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้สึก มีการมอบอำนาจหน้าที่ และการสร้างภาพพจน์ที่ดีให้ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยมีรายละเอียดดังนี้
                            1.    ความสามารถพิเศษ (Charisma) สิ่งสำคัญของภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษคือ การที่มีส่วนร่วมในความสัมพันธ์ หรือการมีปฏิกิริยาโต้ตอบซึ่งกันและกันระหว่างผู้นำและผู้ตาม ยิ่งไปกว่านั้นบุคคลที่จะได้รับการยอมรับในภาวะผู้นำจะต้องมีลักษณะความสามารถพิเศษ ที่จะเป็นผู้นำด้วย จอห์น การ์ดเนอร์ (John Gardner) เชื่อว่าความสามารถพิเศษจะใช้เพื่อเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับผู้นำ ซึ่งผู้นำเช่นนี้จะมีพรสวรรค์ที่พิเศษในการสร้างแรงบันดาลใจ และใช้การติดต่อสื่อสารที่มีเหตุผล ในขณะเดียวกัน การตอบสนองต่อองค์ประกอบต่าง ๆ ก็มีลักษณะที่ทำให้เกิดความน่าเกรงขาม ความน่าเคารพ เชื่อถือ การทำให้เกิดความจงรักภักดี หรือการเป็นที่พึ่งพาซึ่งกันและกันด้านอารมณ์
                            2.    ผลกระทบความสามารถพิเศษ ผู้ที่มีความสามารถพิเศษ เป็นผู้นำที่สามารถดึงดูดใจให้คนอื่นต้องยอมทำตาม เป็นผู้นำที่มีความสามารถจูงใจบุคคลอื่นให้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยไม่ต้องมีคำถาม โรเบิร์ต เฮ้าส์ (Robert House) อ้างถึงใน รังสรรค์ ประเสริฐศรี (2544 : 50 – 51) ได้พัฒนาทฤษฎีภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ โดยได้ให้คำจำกัดความคำว่า ความสามารถพิเศษ ว่ามีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าผลกระทบ คือเป็นบุคคลซึ่งทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แน่นอนในระดับสูง      ซึ่งเป็นผลจากความสามารถพิเศษและ กล่าวถึง ทฤษฎีภาวะผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ ซึ่งพอสรุปสาระสำคัญโดยพิจารณาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อไปนี้
                                    2.1    ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ความไว้วางใจ ในการกระทำที่ถูกต้องของผู้นำ
                                    2.2    ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความเชื่อถือในผู้นำ
                                    2.3    ผู้ใต้บังคับบัญชายอมรับ การกระทำของผู้นำ
                                    2.4    ผู้ใต้บังคับบัญชาจะไม่มีการพูดให้ร้ายต่อผู้นำเพราะมีความชอบในตัวผู้นำ
                                    2.5    ผู้ใต้บังคับบัญชาจะอยู่ในโอวาทเชื่อฟัง
                                    2.6    ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดการเอาอย่างผู้นำ
                                    2.7    ผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีอารมณ์อยากทำงานร่วมกับกลุ่ม
                                    2.8    ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายในระดับสูง
                                    2.9    ผู้ใต้บังคับบัญชาอุทิศตนเพื่อความสำเร็จในงานหรือกลุ่ม หรือรับรู้ที่จะช่วยเหลือกลุ่มให้บรรลุภารกิจ
                            คุณสมบัติของผู้นำที่มีภาวะผู้นำความสามารถพิเศษ ก็คือปรากฏการณ์ด้านคุณสมบัติของผู้นำ โดยระบุสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
                            1.    มีวิสัยทัศน์ที่เข้มแข็ง และมีความสามารถพิเศษในการใช้วิสัยทัศน์ เพื่อรักษาความนิยมจากผู้ใต้บังคับบัญชาเอาไว้
                            2.    มีความกล้าเสี่ยง ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษต้องมีความเสียสละส่วนตัว กล้าเผชิญความเสี่ยงด้านการเงิน ความสำเร็จในการทำให้เกิดวิสัยทัศน์ร่วมกัน
                            3.    ใช้กลยุทธ์ที่ไม่จำเป็นต้องมีระเบียบแบบแผน ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษอาจต้องทำงานที่ยืดหยุ่นได้และมีการกระทำการบางอย่างแบบที่ไม่จำเป็นต้องมีระเบียบแบบแผนเพื่อให้ได้รับผลทางวิสัยทัศน์ร่วมกัน
                            4.    คาดคะเนเหตุการณ์ได้ถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้นำต้องมีทักษะและความเชี่ยวชาญในการคาดการณ์สภาวการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ตลอดจนผู้นำที่มีความสามารถพิเศษจะใช้กลยุทธ์เพื่อหลีกเลี่ยงการเสี่ยงภัย รู้จักใช้กลยุทธ์ให้มีความเหมาะสมกับโอกาส
                            5.    บอกความจริงให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ทราบ ผู้นำต้องแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ทราบถึงวิกฤตการณ์ที่จะเกิดขึ้นและสิ่งที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะตามมาถึงผู้ใต้บังคับบัญชาของตน
                            6.    ทำการติดต่อสื่อสารด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง ผู้นำต้องแสดงความเชื่อมั่นเกี่ยวกับข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่นำมาพิจารณาโดยใช้ความสามารถพิเศษที่มีอยู่แก้ไขสถานการณ์        ให้ผ่านพ้นไปด้วยดี
                            7.    รู้จักใช้อำนาจส่วนตัว ผู้นำต้องรู้จักใช้ความสามารถพิเศษของตนให้เกิดอิทธิพลต่อผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อให้อำนาจอย่างเหมาะสมในการทำงานประสบความสำเร็จ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนอย่างเคร่งครัด ซึ่งการใช้อำนาจนั้นต้องให้สอดคล้องกับการรับรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย
                            จากที่ได้กล่าวมาชี้ให้เห็นว่า ความสามารถพิเศษ เป็นคำที่แสดงให้เห็นคุณลักษณะ ของบุคคลได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีความหมายและมิติที่แตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งได้เป็น 5 ชนิด คือ (1) ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษทางด้านสังคม (2) ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษซึ่งมุ่งที่ตนเอง (3) ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษด้านการควบคุมด้านสำนักงาน (4) ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะตัว      (5) ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษด้านพรสวรรค์ อาจกล่าวได้ว่าลักษณะของผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ เป็นความสามารถในการดลใจลูกน้อง ประกอบทั้งมีความสามารถในการจูงใจบุคคลอื่น       ให้ปฏิบัติตามคำสั่ง โดยไม่ต้องมีคำถาม บุคคลเหล่านี้จะมีลักษณะเด่นอื่น ๆ ซึ่งลักษณะเหล่านี้ใช้ได้กับผู้นำเชิงปฏิรูปด้วย ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษจำนวนมาก อาจไม่ใช้การปฏิรูป ถึงแม้ผู้นำเหล่านี้จะสามารถดลบันดาลใจบุคคลอื่นได้แต่พวกเขาอาจไม่ทำให้การเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเช่นเดียวกับผู้นำเชิงปฏิรูป
                            ผู้นำที่มีคุณลักษณะพิเศษมีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
                            1.    เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์
                            2.    เป็นผู้มีความสามารถด้านทักษะการสื่อสาร
                            3.    เป็นผู้ที่มีความสามารถก่อให้เกิดความไว้วางใจ
                            4.    เป็นผู้ที่สามารถทำให้สมาชิกของกลุ่มรู้สึกว่าเขามีความสามารถ
                            5.    เป็นผู้ที่มีพลังและมุ่งที่การปฏิบัติให้บรรลุผล
                            6.    เป็นผู้ที่มีการแสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมและมีความเอื้ออาทรหรือให้ความอบอุ่นกับผู้อื่น
                            7.    เป็นผู้ที่ชอบที่จะเสี่ยง
                            8.    เป็นผู้ที่ใช้กลยุทธ์ใหม่ที่มีลักษณะโดดเด่น (ไม่ต้องทำตามแบบดังเดิม)
                            9.    เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ส่งเสริมตนเอง
                            10.  เป็นผู้ที่พยายามที่จะมีความขัดแย้งภายในให้น้อยที่สุด
                            ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership) เนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ได้ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อองค์การ ผู้นำระดับสูงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนทิศทางวิธีการคิด และการบริหารแบบใหม่ที่สอดคล้องทันต่อการเปลี่ยนแปลง ได้มีความพยายามในการวางแผนกลยุทธ์อย่างสมบูรณ์ที่ครอบคลุมกิจการทั้งหมดขององค์การ ทำให้มีการนำเอาเรื่องของกระบวนการบริหารงาน โดยเฉพาะการนำเอากลยุทธ์ ไปปฏิบัติ เช่น การจัดการโครงสร้างองค์การ วัฒนธรรมองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรบุคคล ตลอดจนการควบคุม และประเมินผลกลยุทธ์เข้ามาบูรณาการร่วมกัน เป็นรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ โดยผู้นำระดับสูงขององค์การ ซึ่งเป็นระดับกลยุทธ์ เป็นบุคคลที่ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ต่อการบริหารเชิง กลยุทธ์ขององค์การในทุกขั้นตอน กล่าวโดยสรุปการบริหารเชิงกลยุทธ์ดังกล่าวประกอบขึ้นด้วยขั้นตอนสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้
                            1.    ขั้นการวางกลยุทธ์ ได้แก่ การพิจารณาวิสัยทัศน์ และภารกิจขององค์การ              การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและขีดสมรรถนะภายใน และการวิเคราะห์และเลือกกลยุทธ์
                            2.    ขั้นการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน                    การวางแผนปฏิบัติการ การสนับสนุนกลยุทธ์ด้วยโครงสร้างวัฒนธรรม บุคลากรเทคโนโลยีสารสนเทศและกระบวนการทำงาน
                            3.    ขั้นการควบคุมและการประเมินผลเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ การตรวจสอบผลการดำเนินงาน การติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่าง ๆ
                            และได้กล่าวถึงระดับกลยุทธ์ขององค์การว่า การจัดวางกลยุทธ์ในองค์การขึ้นอยู่กับลักษณะความสลับซับซ้อนของงานในแต่ละองค์การ สำหรับหน่วยงานที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก และดำเนินงานด้านหนึ่งด้านใดเพียงอย่างเดียว รูปแบบองค์ประกอบของกลยุทธ์ก็จะประกอบด้วย           กลยุทธ์ใน 2 ระดับ ได้แก่
                            1.    กลยุทธ์ในระดับส่วนรวม เป็นกลยุทธ์ที่ครอบคลุมภาพกว้าง โดยรวมทั้งองค์การ ที่เกี่ยวข้องกับทิศทางและเจตจำนงขององค์การในอนาคต เพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่จะดำเนินการต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมที่สุด
                            2.    กลยุทธ์ในระดับส่วนงาน เป็นกลยุทธ์เฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานในแต่ละหน้าที่งาน เช่น การตลาด การเงิน งานบุคลากร การผลิต การวิจัยและพัฒนา เป็นต้น เพื่อให้แน่ใจว่างานที่จะต้องทำในแต่ละส่วนนั้นเป็นไปอย่างถูกต้อง
                            ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ขององค์การ จากองค์ประกอบของกลยุทธ์ดังกล่าวแล้วผู้บริหารในแต่ละระดับ ต่างจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการวางกลยุทธ์โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่
                            1.    ภาวะผู้นำในระดับสูง ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงขอององค์การ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อกำหนดทิศทางและจุดมุ่งหมายรวมขององค์การ ตลอดจนปรัชญาและหลักการพื้นฐานที่เกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ขององค์การโดยรวมทั้ง          ทำการตัดสินใจในการเลือกกลยุทธ์และจัดสรรทรัพยากรระหว่างกลุ่มงานต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสม ผู้บริหารระดับสูงดังกล่าวมีขอบเขตความรับผิดชอบครอบคลุมทั้งองค์การ รวมทั้งเน้นการดำเนินงานภายนอกองค์การ จึงเป็นลักษณะภาวะผู้นำแบบมหภาค คือมีบทบาทที่ส่งผลกระทบในวงกว้างตลอดทั้งองค์การ จึงเรียกภาวะผู้นำในระดับสูงนี้ว่า “ผู้นำเชิงกลยุทธ์” เพราะเป็นผู้ที่มีความสามารถในการยืดหยุ่นและปรับตัวอยู่เสมอ และมีมุมมองระยะยาวที่เป็นเป้าหมายในการนำทางให้กับองค์การได้อย่างชัดเจน
                            2.    ภาวะผู้นำในระดับจุลภาค ได้แก่ ผู้บริหารระดับกลางและระดับต้นขององค์การ ซึ่งเป็นผู้ที่รับแผนกลยุทธ์จากผู้บริหารระดับสูงนำไปถ่ายทอดสู่ภาคปฏิบัติเป็นผู้บริหารที่ขอบเขตความรับผิดชอบต่องานหน้าที่เฉพาะด้าน เช่น การผลิต การตลาด การเงิน การบุคลากร เป็นต้น ผู้บริหารเหล่านี้จะจัดวางกลยุทธ์เฉพาะด้านและแผนปฏิบัติการของตนขึ้นมารับรองแผนกลยุทธ์

                            ผู้นำเชิงกลยุทธ์แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
                            1.    ผู้นำเชิงกลยุทธ์แบบผู้สร้างสรรค์ที่ควบคุม เป็นผู้นำที่ชอบแสวงหาความท้าทายสูงแต่ยังเน้นการควบคุมการปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่ต่าง ๆ ขององค์การอย่างเข้มงวด ผู้บริหารแบบ HCI จะมองสิ่งแวดล้อมว่าเป็นโอกาส และเต็มใจที่จะใช้เทคโนโลยีก้าวหน้าชั้นสูงมาช่วยให้บรรลุเป้าหมาย เป็นผู้นำที่แสวงหากลยุทธ์ที่มีลักษณะริเริ่มใหม่และมีความเสี่ยงทั้งระดับองค์การและระดับส่วนงานเพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดใหม่หรืออุตสาหกรรมใหม่ได้
                            2.    ผู้นำเชิงกลยุทธ์แบบผู้รักษาสถานภาพเดิม ผู้นำแบบนี้ไม่แสวงหาความท้าทาย          แต่ต้องการที่จะคงการควบคุมเอาไว้ โดยจะควบคุมงานตามหน้าที่ต่าง ๆ ขององค์กรไว้ที่ตนและมักปฏิเสธการกระทำใด ๆ ที่ตนเห็นว่าเป็นการเสี่ยง เป็นผู้ที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมภายนอกเป็นภัยคุกคาม และจะใช้ความพยายามทุกวิถีทางที่จะปกป้องมิให้องค์การของตนได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นผู้นำที่ไม่แสวงหากลยุทธ์ใหม่ที่สร้างสรรค์ แต่จะยึดติดอย่างเหนียวแน่นกับแนวคิดเดิม หรือกลยุทธ์ที่ผ่านการทดสอบแล้วเท่านั้นองค์การที่ดำเนินการภายใต้ผู้นำแบบนี้ จึงยากที่จะปรับปรุงพัฒนาให้เป็นผู้นำอุตสาหกรรมที่มีผลผลิตและนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาด เป็นองค์การที่อาจเรียกได้ว่ามีประสิทธิภาพและมีค่าใช้จ่ายต่ำ
                            3.    ผู้นำเชิงกลยุทธ์แบบผู้สร้างสรรค์ให้มีส่วนร่วม ผู้นำแบบมีมุ่งแสวงหาโอกาส ความท้าทายและการริเริ่มใหม่จากภายนอก ในขณะที่การดำเนินงานภายในองค์การจะสร้างระบบโครงสร้างแบบหลวม ๆ ที่มีความยืดหยุ่น มีลักษณะที่เปิดกว้างสูง เน้นวัฒนธรรมองค์การด้วยค่านิยมการมีส่วนร่วมและการเปิดเผย ผู้นำแบบนี้มองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายนอกว่าเป็นการสร้างโอกาสใหม่ ๆให้แก่องค์การได้มากมายและพร้อมเปิดรับกระแสอิทธิพลภายนอกเข้าสู่องค์การเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นผู้นำที่มุ่งแสวงหาความท้าทายและมีแนวโน้มที่จะเลือกกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงสูง องค์การที่บริหารภายใต้ผู้นำแบบนี้เป็นที่รู้จักทั่วไปในฐานะที่มีความเป็นหนึ่งในด้านเทคโนโลยี การริเริ่มสร้างสรรค์ทางการบริหาร และการเริ่มด้านนวัตกรรม
                            4.    ผู้นำเชิงกลยุทธ์แบบผู้บริหารกระบวนการ เป็นผู้นำที่ชอบกลยุทธ์แบบอนุรักษ์นิยมที่ยึดติดกับแนวคิดหรือวิธีการเดิมที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว ชอบหลีกเลี่ยงนวัตกรรมใหม่ที่อาจมีความเสี่ยง แต่เนื่องจากผู้นำประเภทนี้มีความต้องการอำนาจควบคุมอยู่ในระดับต่ำ จึงยอมรับความหลากหลายทางความคิดและการเปิดกว้างขึ้นในองค์การ พนักงานไม่ถูกบังคับให้ต้องยึดติดกับเป้าหมายและนวัตกรรมร่วมกัน แต่ละคนจะมีอิสระและการปฏิบัติงานประจำวันจะไม่ถูกวัดในเรื่องมาตรฐานมากนักตราบเท่าที่ยังไม่ส่งผลเสียหายร้ายแรงแก่องค์การ
                            ในสภาพความเป็นจริงขององค์การพบว่า มีผู้นำเชิงกลยุทธ์ทั้ง 4 ประการดังกล่าวที่เป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จและเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลอยู่ในองค์การทั่วไป ในตารางต่อไปนี้          เป็นสรุปผลที่ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์แบบต่าง ๆ มีต่อแรงกดดันเชิงกลยุทธ์ทั้งหกประการดังกล่าว
                            เทศบาลนครนครปฐมมีการจัดอบรมสัมมนาให้หัวหน้าฝ่ายแต่ละฝ่ายซึ่งจะต้องเตรียมพร้อมและสร้างคุณสมบัติเฉพาะให้บริการในแต่ละส่วนราชการ ดังนี้
                            สำนักงานการศึกษา เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังคมเทศบาล งานเกี่ยวกับศาสนา งานส่งเสริมประเพณีศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น ตลอดจนงานกีฬาและเยาวชน มีผู้อำนวยการสำนักการศึกษาเป็นหัวหน้าหน่วยงาน จะเห็นได้ว่าภารกิจของส่วนราชการนี้ ลักษณะของการทำงาน เป็นงานที่ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาให้รอบรู้ถึงกรอบงานว่ามีแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างไร มีกฎหมายใดบ้างที่เกี่ยวข้องต้องมีความสามารถในการชี้นำแนวทางปฏิบัติให้แก่บุคคลอื่นได้ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำก็จะต้องสร้างความศรัทธาให้เกิดแก่ผู้ตามให้ได้ ผู้นำจะต้องสามารถกำหนดทิศทางในการทำงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นแบบอย่างที่ดีของการทำงาน รู้จักพัฒนาตนเอง พัฒนางานพัฒนาหน่วยงาน และในการทำงานนั้น การมีส่วนร่วมของทีมงานเป็นสิ่งสำคัญมาก คุณลักษณะดังกล่าวจะตรงกับคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ ภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม และภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป
                            สำนักการคลัง เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวกับด้านการเงินและการบัญชี พัสดุและทรัพย์สินของเทศบาล และเกี่ยวกับการตรวจสอบงบประมาณ มีผู้อำนวยการสำนักการคลัง              เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ลักษณะของการทำงานต้องอาศัยการทำงานที่ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาให้รอบรู้ในระเบียบกฎหมาย ข้อบังคับ เกี่ยวกับการใช้งบประมาณ การเป็นแบบอย่างที่ดีของการทำงาน ยึดถือกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด มีความซื่อสัตย์ในการทำงาน การดูแลติดตามเอาใจใส่ในงานที่ตนรับผิดชอบ รู้จักพัฒนาวิธีทำงานของตนให้มีความถูกต้องไม่ผิดพลาด คุณลักษณะดังกล่าวตรงกับคุณลักษณะของภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ ภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ และภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป
                            สำนักงานช่าง เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านงานโยธา งานสาธารณูปโภคเกี่ยวกับไฟฟ้าน้ำประปา โดยมีผู้อำนวยการสำนักการช่าง เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ลักษณะของการทำงานต้องอาศัยการทำงาน ที่ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการช่าง การโยธา การออกแบบ ระเบียบ กฎหมาย การให้บริการประชาชนที่มาขอรับความช่วยเหลือในเรื่องสาธารณูปโภค ซ่อมบำรุงต่าง ๆ ต้องสามารถตัดสินใจปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำ ก็จะต้องสามารถกำหนดทิศทางของการทำงานได้อย่างถูกต้อง สอดคล้องกับปัจจัยต่าง ๆ ขององค์กร สามารจูงใจให้ทีมงานนำการตัดสินใจลงสู่การปฏิบัติงานได้ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จะต้องเป็นผู้รู้หลักในการให้บริการที่ดี รู้จักปรับปรุงวิธีการทำงานที่ทันเหตุการณ์ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและความสำเร็จของงานได้ คุณลักษณะดังกล่าวตรงกับคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ ภาวะผู้นำแบบผู้ให้บริการ และภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป
                            กองวิชาการและแผนงาน เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับ                     การดำเนินงานด้านการวิเคราะห์นโยบายและแผนงาน จัดทำแผนพัฒนาของเทศบาล งานนิติกร         มีผู้อำนวยการกองวิชาการและแผนงาน เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ลักษณะของการทำงานต้องอาศัยการทำงานที่ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงแนวทางในการปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน ตลอดจนระเบียบ กฎหมายที่ใช้ในการวินิจฉัยปัญหาผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำก็จะต้องมีความสามารถในการ         จูงใจให้ทีมงานนำการตัดสินใจลงสู่การปฏิบัติงานได้ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จะต้องเป็นผู้รู้หลักในการทำงานร่วมกับชุมชน รู้จักการพัฒนาตนเอง พัฒนางานให้มีความทันสมัยทันเหตุการณ์นำไปสู่ความสำเร็จของงานได้ คุณลักษณะดังกล่าวตรงกับคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ ภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม และภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป
                            กองสวัสดิการสังคม เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงาน ด้านสวัสดิภาพของเด็กเยาวชน งานสังคมสงเคราะห์ งานพัฒนาชุมชน การพัฒนาปรับปรุงชุมชนในเขตเทศบาลให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีความอยู่ดีกินดีตามความจำเป็นพื้นฐานของประชาชน         มีผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ภารกิจของส่วนราชการนี้ ลักษณะของการทำงาน เป็นงานที่ให้บริการแก่ประชาชน ดูแลในเรื่องของสวัสดิภาพความเป็นอยู่ การทำงาน       จึงเป็นในลักษณะการออกชุมชน เพื่อให้บริการแก่ประชาชน ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำจึงต้องมีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีความสามารถในการจูงใจให้ทีมงานนำการตัดสินใจลงสู่การปฏิบัติงานได้ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องเป็นผู้รู้หลักในการทำงานร่วมกับชุมชน รู้หลักในการให้บริการที่ดี รู้จักการพัฒนาตนเอง พัฒนางานให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์นำไปสู่ความสำเร็จของงานได้ คุณลักษณะดังกล่าวตรงกับคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ ภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม ภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป และภาวะผู้นำแบบผู้ให้บริการ
                            สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการป้องกันและระงับโรค การสุขาภิบาลและรักษาความสะอาด มีผู้อำนวยการสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าหน่วยงาน การทำงานจึงเป็นในลักษณะการออกให้บริการตรวจสุขภาพ และบริการให้ความรู้แก่ประชาชนให้ปลอดภัยจากโรคติดต่อ เป็นการทำงานที่ต้องประสานสัมพันธ์กับชุมชน ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำจึงต้องมีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีความสามารถในการสามารถจูงใจให้ทีมงานนำการตัดสินใจลงสู่การปฏิบัติเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องเป็นผู้รู้หลักในการให้บริการกับประชาชน รู้จักการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี พัฒนาการทำงานให้ทันยุคทันเหตุการณ์ ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวตรงกับคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ ภาวะผู้นำแบบผู้ให้บริการ และภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป
                            สำนักปลัดเทศบาล เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงาน ด้านกิจการทั่วไปของเทศบาล ได้แก่ งานบริหารงานบุคคล งานธุรการ งานทะเบียนราษฎร์ งานสภาเทศบาล งานเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยมีหัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ภารกิจของส่วนราชการนี้ การทำงานจะเป็นในลักษณะหน่วยประสานงานของทุกส่วนราชการ                   ในสำนักงานเทศบาล ทำให้การปฏิบัติงานของพนักงานในส่วนราชการนี้ต้องยึดระเบียบ               ข้อกฎหมายเป็นแนวปฏิบัติและพร้อมที่จะให้บริการในด้านเอกสารข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการ           ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำจึงต้องมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน มีความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี สามารถสร้างมาตรฐานในการบริการที่ดีได้ สามารถจัดการกลยุทธ์ได้อย่างสมดุลสอดคล้องกับปัจจัยต่าง ๆ ในองค์กร ส่วนระดับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จะต้องรอบรู้ในแนวทางการปฏิบัติงานทุกสถานการณ์ รู้จักพัฒนาตนเองในด้านการประสานงาน การมีมนุษยสัมพันธ์กับส่วนราชการอื่น การปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีความคล่องตัว รวดเร็วทันเหตุการณ์ คุณลักษณะดังกล่าวตรงกับคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ ภาวะผู้นำที่ภาวะผู้นำแบบผู้ให้บริการ และภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป
                            กองการประปา เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดูแลเกี่ยวกับด้านคุณภาพชีวิตของประชาชนให้บริการน้ำสะอาด เพื่อการอุปโภค บริโภค และป้องกันอัคคีภัย ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ทรัพยากรน้ำด้วยความประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในท้องถิ่น การกำหนดนโยบายตามแผนงานผลิตน้ำประปา การให้บริการ การประปาของเทศบาลให้สอดคล้องกับนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีผู้อำนวยการกองการประปาเป็นหัวหน้าหน่วยงาน ภารกิจของส่วนราชการมีลักษณะของการทำงาน เป็นงานที่ให้บริการแก่ประชาชน และต้องประสานงานกับชุมชน ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษาให้เข้าใจถึงแนวทางในการปฏิบัติงานการให้บริการประชาชนที่มาขอรับความช่วยเหลือในเรื่องสาธารณูปโภค ซ่อมบำรุงต่าง ๆ ต้องสามารถตัดสินใจปฏิบัติการได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำ ก็จะต้องสามารถกำหนดทิศทางของการทำงานได้อย่างถูกต้อง สามารถจูงใจการตัดสินใจ ต้องรู้หลักให้บริการที่ดี ปรับปรุงการทำงานที่ทันเหตุการณ์ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ คุณลักษณะดังกล่าวตรงกับคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ ภาวะผู้นำแบบผู้ให้บริการและภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป  
                            กองส่งเสริมวัฒนธรรมการท่องเที่ยวและกีฬา มีผู้อำนวยการกองส่งเสริมวัฒนธรรมการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นหัวหน้าหน่วยงาน เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู บำรุงรักษา วัฒนธรรม สร้างความรู้ ความเข้าใจและการตระหนัก ในคุณค่าและเอกลักษณ์ที่ดีของความเป็นไทย ส่งเสริมการสนับสนุนการให้บริการและจัดกิจกรรมด้านการกีฬา นันทนาการ พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ทางศีลปะวัฒนธรรม และประเพณีในรูปแบบต่าง ๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนศึกษาวิเคราะห์ วิจัยพัฒนาและแนวทางดำเนินงาน การพัฒนาด้านกีฬา นันทนาการ ศิลปวัฒนธรรม และประเพณี คุณลักษณะดังกล่าวตรงกับคุณลักษณะ ภาวะผู้นำแบบเชิงกลยุทธ์ ภาวะผู้นำแบบที่มีความสามารถพิเศษ และภาวะผู้นำแบบเชิงปฏิรูป
                            กล่าวโดยสรุป ภารกิจกับรูปแบบภาวะผู้นำ พนักงานเทศบาลของเทศบาลนครนครปฐม มีการนำยุทธวิธีในการสร้างความเข้มแข็ง สร้างความสำเร็จให้เกิดแก่องค์กร ซึ่งเทศบาลนครปฐม มีต้นแบบที่ดีคือ ปลัดเทศบาลที่ได้มีการวางแผน การพัฒนาสร้างประสบการณ์การสร้างวิสัยทัศน์ แก่พนักงานเทศบาลนครนครปฐม จนกล่าวได้ว่าเทศบาลนครนครปฐม มีการบริหารงานที่ดี


















    ประวัติผู้เขียน


    วาสนา  คงสกุลทรัพย์

    การศึกษา      -      ปริญญา DBA, Doctorate in Business Administration – Public Administration,                             Rochville University U.S.A
    -                   ปริญญาโท MBA. In Public Administration, Rochville University USA
    -                   ปริญญาโท MBA. ด้านการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนอร์ท – เชียงใหม่
    -                   ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนา ประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
    -                   ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการบัญชี วิทยาลัยทองสุข
    -                   ปริญญาตรี บริหารธุรกิจ สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
    -                   ปริญญาตรี ศิลปะศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ วิทยาลัยครูนครปฐม

    ปัจจุบัน         -      หัวหน้าฝ่ายพัสดุและทรัพย์สิน กองการประปาเทศบาลนครนครปฐม
                            -      อาจารย์พิเศษ

    ดร. วาสนา  คงสกุลทรัพย์                                                                                 
      084 – 641 - 5599